วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

โครงงานระบำกฤดาภินิหาร




โครงงานปฏิบัติศิลป์เอก

ระบำกฤดาภินิหาร




ผู้จัดทำ

นางสาวดวงใจ  ดวงทองคำ

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๑ เลขที่ ๑๙





อาจารย์ที่ปรึกษา

อาจารย์ทิพวรรณ                  เพชรดี





ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๕


วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี  สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์  กระทรวงวัฒนธรรม


หัวข้อโครงงาน         ระบำกฤดาภินิหาร
ผู้จัดทำ                   นางสาวดวงใจ  ดวงทองคำ
ระดับชั้น                 มัธยมศึกษาปีที่ ๖/๑
ชื่ออาจารย์ผู้สอน      อาจารย์ทิพวรรณ  เพชรดี
สถานศึกษา             วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี
ปี พ.ศ.                    ๒๕๕๕

บทคัดย่อ
          เพลงระบำกฤดาภินิหาร เป็นเพลงในหลักสูตรของภาคดุริยางค์ไทย  สาขา เครื่องสายไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ ๖/๑

กิตติกรรมประกาศ
          ในการจัดทำโครงงานปฏิบัติศิลป์เอก เรื่อง ระบำกฤดาภินิหาร  ข้าพเจ้าจึงขอกราบขอบพระคุณ อาจารย์ทิพวรรณ  เพชรดี
















สารบัญ
เรื่อง                                                                                                    หน้า

บทคัดย่อ                                                                                                 
กิตติกรรมประกาศ                                                                                    
บทที่ ๑ บทนำ                                                                                            
          ที่มาและความสำคัญของโครงงาน                                                           ๓
          วัตถุประสงค์                                                                                   
          สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า                                                            
          ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า                                                                ๓
          นิยามคำศัพท์                                                                                 ๓-๔
บทที่ ๒ เอกสาร                                                                                      ๕-๙
บทที่ ๓ อุปกรณ์และวิธีการศึกษา                                                                    ๑๐
          อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการศึกษา                                                         ๑๐
          วิธีการศึกษา                                                                                 ๑๐
บทที่ ๔ ผลการศึกษาและอภิปรายผลการศึกษา                                                          ๑๑
บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา                                                                          ๑๑
          สรุปผลการศึกษา                                                                            ๑๑
          ประโยชน์ที่ได้รับ                                                                            ๑๑
          ข้อเสนอแนะ                                                                                ๑๑









บทที่ ๑ บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
              ประวัติระบำกฤดาภินิหาร เป็นเนื้อหาที่มีความน่าสนใจ  เพราะจะได้ทราบถึงประวัติความเป็นมา และการแสดงชุดนี้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง

วัตถุประสงค์
              เพื่อให้เยาวชนได้ศึกษาเกี่ยวกับระบำกฤดาภินิหาร

สมมุติฐาน
              ๑. เพื่อให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้ทราบถึงระบำกฤดาภินิหาร
              ๒. เพื่อให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้เห็นรูปแบบชุดการแสดงระบำกฤดาภินิหาร
              ๓. ได้ทราบถึงประวัติที่มา และโน้ตเพลงระบำกฤดาภินิหาร

ขอบเขตการศึกษา
              กำหนดการจัดทำโครงงานตั้งแต่วันที่ ๓-๑๔ กันยายน ๒๕๕๕  ค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ต

กิตติกรรมประกาศ
              การจัดทำโครงงานวิชาปฏิบัติศิลป์เอก เรื่อง ระบำกฤดาภินิหาร ข้าพเจ้าต้องขอขอบพระคุณ อาจารย์ทิพวรรณ  เพชรดี ที่ท่านได้ให้คำปรึกษา

นิยามประวัติของ ระบำกฤดาภินิหาร
๑. ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดงระบำกฤดาภินิหาร ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง เพลงรัวดึกดำบรรพ์ และครวญหา และเพลงจีนรัว
๒. การรำแบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้ดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑    ออกท่ารำในท่ารำสอดสร้อย เพลงรัวดึกดำบรรพ์
ขั้นตอนที่ ๒   รำตามบทเพลงในเพลงครวญหา 
ขั้นตอนที่ ๓   รำเข้าตามทำนองดนตรีในเพลงจีนรัว
             

บทที่ ๒ เอกสาร

ประวัติที่มา

ระบำกฤดาภินิหาร เป็นระบำที่กรมศิลปากรสร้างสรรรค์ขึ้นใหม่ ในราว พ.ศ.๒๔๘๖         ใช้วงดุริยางค์สากลบรรเลง โดยมีพระเจนดุริยางค์เป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสาน ด้วยต้องการให้       มีรูปแบบการแสดงที่แตกต่างไปจากระบำมาตรฐานที่ได้เคยแสดงมาและต้องการให้ทันสมัยเหมาสมกับสถานการณ์ในยุคนั้น
"การปรับปรุงการแสดงตอนนี้ มุ่งหมายให้เป็นละครรำ แต่ให้กระทัดรัดเหมาะสมแก่กาลสมัย จึงต้องปรับปรุงขึ้นทั้งท่ารำ ทำนองร้อง และเพลงดนตรี ดังจะเห็นได้จากท่ารำที่เป็นแบบแผนของนาฏศิลป์ไทยแท้ ๆ ระคนกับการใช้บทอย่างแนบเนียนกระฉับกระเฉง เข้ากับทำนองดนตรี และขับร้องสนิทสนม ส่วนเพลงร้อง และทำนองดนตรีก็เป็นเพลงไทยโบราณแท้ หากแต่นำมาปะติดปะต่อเข้ากันเป็นชุด เพื่อให้เหมาะสมกลมกลืนกับคำร้องและท่ารำ บทร้อง และทำนองเพลง ท่ารำและเพลงดนตรีในระบำชุดนี้จึงนับเป็นรำบำไทยที่พยายามปรับปรุงตัวเองให้ทันสมัยชุดหนึ่ง"

        การแสดงชุดนี้อยู่ในตอนท้ายเรื่องเกียรติศักดิ์ไทย (กรมศิลปากรได้ประพันธ์เป็นบทละครสร้างจากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ครองกรุงศรีอยุธยา) อันเป็นการร่ายรำของเหล่าเทวดานางฟ้า ที่ได้ทราบถึงความเจริญรุ่งเรืองบิ่งใหญ่ของชาติไทย จึงเกิดความปิติยินดีชื่นชมโสมนัส ต่างพากันมาอวยชัยให้พร ผู้แต่งบทร้องคือ นางสุดา บุษปฤกษ์ ผู้ประดิษฐ์ท่ารำคือ นางลมุล ยมะคุปต์ และนางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก (หม่อมครูด่วน) ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย กรมศิลปากร ด้วยความหมายอันเป็นมงคลของระบำชุดนี้ ต่อมาจึงนำออกแสดงในระบำชุดเอกเทศ มักใช้วงปี่พาทย์ไม้นวมในการบรรเลง แต่บางโอกาสก็คงใช้วงดุริยางค์สากลบรรเลงอยู่ การแสดงระบำชุดนี้ยังเป็นที่นิยมแสดงกันอย่างแพร่หลาย






รูปแบบ และลักษณะการแสดง
        ระบำกฤดาภินิหาร มีลักษณะท่ารำเป็นระบำหมู่คู่พระ-นาง เสมือนหนึ่งว่าเหล่าเทวดา นางฟ้า มาร่วมอวยพรยินดีในเกียรติยศ ชื่อเสียงของประเทศไทย ท่ารำเป็นการตีบทตามคำร้องในเพลงครวญหา (ซึ่งทั้งลักษณะของท่าที่มีความหมายตรงกับคำร้องและท่าที่ความหมายสอดคล้องกับคำร้อง) และท่ารำในเพลงจีนรัว ผู้แสดงถือพานสำหรับโปรยดอกไม้ สามารถแสดงได้สองรูปแบบ คือรำตามบทร้องสี่คำกลอน แล้วตัดไปโปรยดอก ไม้ในเพลงจีนรัว ซึ่งใช้เวลาในการแสดง ๕ นาที และอีกบทหนึ่ง รำเต็มบทร้องหกคำกลอน โปรยดอกไม้ตามบทร้อง และในเพลงจีนรัวซึ่งใช้เวลาในการแสดง ๖ นาที

การรำแบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้ดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑    ออกท่ารำในท่ารำสอดสร้อย เพลงรัวดึกดำบรรพ์
ขั้นตอนที่ ๒   รำตามบทเพลงในเพลงครวญหา 
ขั้นตอนที่ ๓   รำเข้าตามทำนองดนตรีในเพลงจีนรัว
           
ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง
ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง เพลงรัวดึกดำบรรพ์ และครวญหา และเพลงจีนรัว

เครื่องแต่งกาย
ผู้แสดงแต่งกายยืนเครื่อง พระสวมเสื้อแขนสั้น ศิราภรณ์ชฎายอดชัย นางศิราภารณ์มงกุฏกษัตรีย์ อุปกรณ์ประกอบการแสดง คือพานสำหรับใส่ดอกไม้

http://www.finearts.go.th/sites/default/files/u9/kritda1.jpg http://www.finearts.go.th/sites/default/files/u9/kritda2.jpg

บทร้องระบำกฤดาภินิหาร
- ปี่พาทย์ทำเพลงรัวดึกดำบรรพ์ -
- ร้องเพลงครวญหา –
                   ปราโมทย์แสน                               องค์อัปสรอมรแมนแดนสวรรค์
ยินกฤดาภินิหารมหัศจรรย์                              เกียรติไทยลั่นลือเลื่องเรืองรูจี
ต่างเต็มตื้นชื่นชมโสมนัส                                   โอษฐ์เอื้อนอรรถอวยพรสุนทรศรี
แจ้วจำเรียงเสียงเพลงสดุดี                                ดนตรีเรื่อยประโคมประโลมลาน
แล้วลีลาศเริงรำระบำร่าย                                  กรกรีดกรายโปรยมาลีสีประสาน
พรมน้ำทิพย์ปรุงปนสุคนธาร                             จักรวาลฉ่ำชื่นรื่นรมย์ครัน
- ปี่พาทย์ทำเพลงจีนรัว –

หมายเหตุ
ในการแสดงครั้งแรกใช้วงดุริยางค์สากลบรรเลง ต่อมานำออกแสดงเป็นระบำชุดเอกเทศ ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม เครื่องห้า หรือเครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่ บางโอกาสใช้วงดุริยางค์สากลบรรเลง ทำนองเพลงใช้ ได้แก่ เพลงรัวดึกดำบรรพ์ เพลงครวญหา และเพลงจีนรัว
โอกาสที่ใช้แสดง
เดิมใช้ประกอบการแสดงในตอนท้ายละครอิงประวัติศาสตร์ เรื่องเกียรติศักดิ์ไทย ต่อมานิยมจัดแสดงเป็นชุดเอกเทศ สามารถแสดงในงานมงคลรื่นเริงทั่วไป

โน้ตเพลงระบำกฤดาภินิหาร

เพลงครวญหา

- - - -
- ซ - ด
- ร - ม
รดรม
- ฟ - ซ
- ลลล
- ดํ - ฟ
ซล
- - - -
- ลรด
- ล - ซ
- - - ฟ
- - - ม
- - รม
ซมรด
- ร
- - - -
- - - ฟ
ฟฟฟฟ
มรดร
มฟซล
- ด - ร
มรดล
- ซ
- - - -
- ซ - -
ฟมรซ
- ซ - -
ฟมรซ
- ร - ม
- ล - ซ
- ฟมร
- - - -
ดลซร
ซมรด
ทลซล
ทดรม
- ซ - ล
ดํลซม
- ร
- - - -
- - - ร
- - - ม
- - - ซ
- - - ล
- - - ซ
- - - รํ
มํรํดํล

กลับต้น
เพลงจีนรัว

- ดํดํดํ
- รํดํล
ดํลซม
- ซ - ล
- ดํดํดํ
มํรํดํล
ดํลซม
ซร
- ดํดํดํ
- รํดํล
ดํลซม
- ซ - ล
- ดํดํดํ
มํรํดํล
ดํลซม
ซร
- ดรม
รมซร
มรดล
- ซ - ล
- - ซล
ซล - -
ซดรม
รม - -
- - รม
รม - -
รมซล
- ซ - ล
- - ซล
ซล - -


กลับต้น

- ลลล
- ซ - ล
รรรร
- ด - ร
- ม - ซ
- ม - ร
- ม - ร
- ด
- ม - ร








- - - ด
- - - ล
- ซ - -
- ล - ซ
- ม - ซ
- ลดล
- ซ - ม
- ซ
- ซ - -
- ฟมร
- ท - ร
- ม - ซ
- ดรม
- ซ - ล
- ซ - ฟ
- ม
- - - ร
- รรร
- มซร
มรดล
- - - ร
- รรร
- มซร
มรดล
- ซ - ล
- ด - ร
- ด - ร
- ม - ร
- ม - ซ
- ฟมร
- ม - -
รด - ร
- ม








กลับต้น

เพลงจีนเร็ว

- รมร
- รมร
- รมร
- รมร
ซรมร
ดรมร
ซรมร
ดรมร
ซรมร
ดรมร
ซรมร
ดรมร
ดรมร
ดรมร
ดรมด
รมฟซ
- ซลซ
- ซลซ
- ซลซ
- ซลซ
ดํซลซ
ฟซลซ
ดํซลซ
ฟซลซ
ดํซลซ
ฟซลซ
ดํซลซ
ฟซลซ
ฟซลซ
ฟซลซ
ทซลท
มลซม
ซรซม
ซรซม
ซรซม
ซรซม
ซดมร
ซดมร
ซดมร
ซดมร

กลับต้น


ลงจบ
- รมร
- รมร
- รมร
- รมร
- - มร
มรมร
มรมร
- ม















บทที่ ๓ อุปกรณ์และวิธีการศึกษา

อุปกรณ์และวิธีการศึกษา

อุปกรณ์ที่ใช้ศึกษา
              ๑. สมุดจด
              ๒. ปากกา
              ๓. คอมพิวเตอร์

             
วิธีการศึกษา

              ๑. รวบรวมข้อมูล
              ๒. เน้นเอาแต่ใจความสำคัญของเนื้อเรื่อง
              ๓. ตกแต่งให้สวยงาม
              ๔. เรียบเรียงและเตรียมนำเสนอ














บทที่ ๔ ผลการศึกษาและอภิปรายผลการศึกษา

ผลการศึกษาและอภิปรายผลการศึกษา
              ประวัติที่มา และรูปแบบการแสดงระบำกฤดาภินิหาร



บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา

สรุปผลการศึกษา
              ทำให้ทราบถึงประวัติ รูปแบบของการแสดง และโน้ตเพลงระบำกฤดาภินิหาร

ประโยชน์ที่ได้รับ
              ทำให้ทราบถึงประวัติ รูปแบบของการแสดง และโน้ตเพลงระบำกฤดาภินิหาร

ข้อเสนอแนะ
              อยากให้เยาวชนรุ่นใหม่กลับสนใจ ประวัติศาสตร์ของไทย และศึกษาประวัติที่มา    วิธีการแสดง  และโน้ตเพลงต่างๆ ของบรรพชนไทยสืบต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น