วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ราชทินนามของนักดนตรีไทย


ราชทินนามของนักดนตรีไทย
รศ. ณรงค์ชัย  ปิฎกรัชต์

                        ราชทินนาม  ตามรูปศัพท์ของคำนี้มาจากคำว่า  ราช + ทิน +  นาม เมื่อแยกคำมีรูปลักษณะของคำสนธิ  ดังนี้
คำ         ราช     =     พระมหากษัตริย์ 
ทิน      =    ให้แล้ว  (คำ ทิน มาจากภาษาบาลีว่า ทินฺน)
นาม    =     ชื่อ       (ความโดยตรงก็คือ  ชื่อที่พระมหากษัตริย์ให้แล้ว)  
ดังนั้นคำว่า  ราชทินนาม  จึงมีความตามนัยดังกล่าวว่า  นามบรรดาศักดิ์ชั้นสัญญา
บัตรที่พระมหากษัตริ์พระราชทานให้แก่ข้าราชการ  ตามสังกัดที่ข้าราชการผู้นั้นๆ ปฏิบัติงานนั้นอยู่โดยพระมหากษัตริย์ทรงพิจารณาและพระราชทานตามความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคล    ราชทินนามมีใช้กันตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  และมีหลายส่วนงานที่รับราชการตามสังกัดที่รับผิดชอบ  ทั้งข้าราชการฝ่ายทหารและข้าราชการฝ่ายพลเรือน  ภายหลังที่เปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ พ. 2475  แล้วทางราชการจึงยกเลิกตำแหน่งและนามบรรดาศักดิ์  ส่วนผู้ได้ดำรงตำแหน่งและนามบรรดาศักดิ์เดิมก็ยังคงใช้ราชทินนามและบรรดาศักดิ์ตามฐานันดรที่ได้รับต่อมาและถือว่าเป็นตำแหน่งและนามบรรดาศักดิ์เฉพาะตน 
ในวงการดนตรีไทย  มีตำแหน่งและนามบรรดาศักดิ์ที่พระมหากษัตริย์พระราช
ทานให้แก่ข้าราชการที่รับราชการรับผิดชอบดูแลหน่วยงาน  หรือเป็นนักดนตรี นักร้อง ที่มีความรู้ความสามารถ นามบรรดาศักดิ์ที่เรียกว่าราชทินนามซึ่งเกี่ยวข้องกับวงการดนตรีไทยนี้  มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เช่น ราชทินนามวิเวกสงคราม เป็นราชทินนามแสดงบรรดาศักดิ์ปลัดกรมกลองชนะ มีศักดินา 600ราชทินนามไฉนยไพเราะห์  นา 200  เป็นพนักงานปี่พาท ในพระไอยการตำแหน่งพลเรือน ปรากฏดังนี้
พนักงานปี่พาท
                   ขุนไฉนยไพเราะห์                            นา        200
                   นาย ว สี่คน                                   นาคล      50
                   เลว                                            นาคล      30
                   หมื่นเสนาะภูบาล เจ้ากรมขวา               นาคล    400
                   หมื่นโวหารภิรมย์ เจ้ากรมซ้าย               นาคล    400

            ในกฎมณเฑียรบาล สมัยอยุธยา กำหนดชื่อและตำแหน่งไว้คือ
                   ขุนศรีสังขกร                       เป่าสังข์
                   พระอินทโร                          ตีอินทเภรี
                   พระนนทิเกษ                        ตีฆ้องไชย
                   ขุนดนตรี                            ตีหรทึก

                        สำหรับหัวเมืองปักษ์ใต้ ในรัชกาลของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีราชทินนาม รันไภรี เป็นตำแหน่งข้าราชการ เมืองนครศรีธรรมราช  มีหน้าที่ตีกลองในงานลากพระ ถือศักดินา 200 ตำแหน่งนี้ยังปรากฏหลักฐานต่อเนื่องมาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยว่า “...ขุนรันไภรีถือศักดินา200 พนักงานตีกลองแห่พระ...”
                        ราชทินนามในทำเนียบเก่ามี 2 ชื่อ คือ เสนาะดุริยางค์และสำอางดนตรี เป็นชื่อราชทินนามที่มีมาก่อนกรุงรัตนโกสินทร์  แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่านักดนตรีในอดีตท่านใดที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์นี้  จนถึงรัชกาลที่ 5 จึงทรงพระราชทานให้แก่ข้าราชการที่รับราชการในกรมพิณพาทย์  
ราชทินนามที่ปรากฏขึ้นอย่างเป็นทางการและรู้จักกันเป็นอย่างดีในวงการดนตรี
ไทยเกิดขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์  โดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบวรราชเจ้าทรงสนพระทัยด้านงานดนตรี  ภายในพระราชวังบวรสถานมงคลมีนักดนตรีที่ได้รับพระราชทานราชทินนาม ประดิษฐไพเราะ คือ หลวงประดิษฐไพเราะ(มีแขก)โดยพระราชทานครั้งแรกเมื่อวันที่  21  พฤศจิกายน  2396 และเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระประดิษฐไพเราะ  เมื่อวันที่  21  ธันวาคม  2396 
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานราชทินนาม
ฉลาดกลองชวา ให้แก่ขุนฉลาดกลองชวา (สาย  อังศุวาทิน) ในตำแหน่งเจ้ากรมกลองแขกเมื่อปี พ.. 2446 ต่อมาได้เลื่อนเป็นหลวงฉลาดกลองชวา ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้เปลี่ยนราชทินนามให้หลวงฉลาดกลองชวา  (สาย  อังศุวาทิน เป็น หลวงสิทธิวาทิน  ในขณะเดียวกันก็ทรงพระราชทานราชทินนามจากทำเนียบเก่าชื่อเสนาะดุริยางค์ให้แก่พระเสนาะดุริยางค์  (ขุนเณร  สุอังคะวาทิน พระราชทานราชทินนามสำอางดนตรีให้แก่หลวงสำอางค์ดนตรี  (พลบ  สุอังคะวาทิน นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงบัญญัติชื่อ ประสานดุริยศัพท์ พระราชทานให้ขุนประสานดุริยศัพท์  (แปลก  ประสานศัพท์
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบัญญัตินามราชทินนามให้เป็น
ทำเนียบชื่อ โดยนำราชทินนามเดิมบางชื่อมาเรียงร้อยกับราชทินนามที่ทรงบัญญัติขึ้นใหม่รวม 55 ชื่อดังนี้
                        ประสานดุริยศัพท์                                    ประดับดุริยกิจ
                        ประดิษฐไพเราะ                                     เสนาะดุริยางค์
                        สำอางดนตรี                                           ศรีวาทิต
                        สิทธิวาทิน                                              พิณบรรเลงราช
                        พาทย์บรรเลงรมย์                                    ประสมสังคีต
                        ประณีตวรศัพท์                                       คนธรรพวาที
                        ดนตรีบรรเลง                                         เพลงไพเราะ
                        เพราะสำเนียง                                         เสียงเสนาะกรรณ
                        สรรเพลงสรวง                                        พวงสำเนียงร้อย 
                        สร้อยสำเนียงสนธิ์                                   วิมลวังเวง
              บรรเลงเลิศเลอ                                             บำเรอจิตรจรุง
                        บำรุงจิตรเจริญ                                        เพลินเพลงประเสริฐ
                        เพลิดเพลงประชัน                                   สนั่นบรรเลงกิจ
                        สนิทบรรเลงการ                                     สมานเสียงประจักษ์
                        สมัคเสียงประจิต                                     วาทิตสรศิลป์
                        วาทินสรเสียง                                         สำเนียงชั้นเชิง
                        สำเริงชวนชม                                         ภิรมย์เร้าใจ
                        พิไรรมยา                                               วีณาประจินต์
                        วีณินประณีต                                          สังคีตศัพท์เสนาะ
                        สังเคราะห์ศัพท์สอาง                               ดุริยางค์เจนจังหวะ
                        ดุริยเจนใจ                                              ประไพเพลงประสม
                        ประคมเพลงประสาน                               ชาญเชิงระนาด
                        ฉลาดฆ้องวง                                           บรรจงทุ้มเลิศ
                        บรรเจิดปี่เสนาะ                                      ไพเราะเสียงซอ
                        คลอขลุ่ยคล่อง                                         ว่องจะเข้รับ
                        ขับคำหวาน                                            ตันตริการเจนจิต
                        ตันตริกิจปรีชา                                        นารทประสาทศัพท์
                        คนธรรพประสิทธิ์สาร
                        ราชทินนามที่เป็นกระทู้พิเศษมี 4 ชื่อ คือ   เจนดุริยางค์   จัดดุริยางค์  ถนัดดุริยางค์ และถนอมดุริยางค์  บรรดาราชทินนามเหล่านี้มีนักดนตรี ที่รับราชการและได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์   เพื่อให้ลำดับเนื้อความต่อเนื่องกัน  จึงนำข้อมูลข้างต้นบางส่วนมาประกอบกัน  ดังนี้
                        ราชทินนาม ประสานดุริยศัพท์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้แก่ขุนประสานดุริยศัพท์  (แปลก ประสานศัพท์) เมื่อ พ.. 2452 ตามคำกราบบังคมทูลขอของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสสริยยศ เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานเลือนบรรดาศักดิ์ให้แก่ขุนประสานดุริยศัพท์  (แปลก  ประสานศัพท์ ตามลำดับ  และได้รับพระราชทาน เป็นที่พระยาประสานดุริยศัพท์ ผแปลก  ประสานศัพท์ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.. 2458
                        ราชทินนาม ประดับดุริยกิจ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้หลวงพิณบรรเลงราช (แหยม  วีณิน) เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.. 2455 ต่อมาได้เลื่อนเป็นหลวงประดับดุริยกิจ เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.. 2457 และเป็นที่พระประดับดุริยกิจ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.. 2459
                        ราชทินนาม ประดิษฐไพเราะ เป็นราชทินนามที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบัญญัติขึ้นใหม่ และมีนักดนตรีได้รับพระราชทานราชทินนามนี้รวม 4 ท่าน  นักดนตรีท่านแรกที่ได้รับพระราชทานคือ หลวงประดิษฐไพเราะ (มีแขก) เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.. 2396 และได้เลื่อนเป็นที่พระประดิษฐไพเราะ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.. 2396 ในรัชกาลต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานราชทินนามประดิษฐไพเราะให้แก่พระประดิษฐไพเราะ (ตาด นับเป็นนักดนตรีท่านที่ 2 ที่ได้รับราชทินนามนี้ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้แก่พระนนทพิทย์พิลาส (เอวัน วาระศิริ) ปลัดกรมกองเครื่องสายฝรั่งหลวงเป็นที่พระประดิษฐไพเราะ  เป็นนักดนตรีท่านที่ 3  และนักดนตรีท่านสุดท้ายที่ได้รับพระราชทานราชทินนามนี้ คือ หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร  ศิลปบรรเลง) ได้รับพระราชทานเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.. 2468
                        ราชทินนาม เสนาะดุริยางค์ ราชทินนามนี้ปรากฏในทำเนียบเก่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานราชทินนามนี้แก่นักดนตรี3 ท่าน คือ พระเสนาะดุริยางค์ (ขุนเณร สุอังคะวาทิน ) ต่อมาพระราชทานให้หลวงเสนาะดุริยางค์ (ทองดี) เมื่อวันที่  ๒๔  ธันวาคม  . ๒๔๓๕ และขุนเสนาะดุริยางค์ (แช่ม  สุนทรวาทิน สำหรับขุนเสนาะดุริยางค์ (แช่ม  สุนทรวาทิน) ได้รับพระราชทานเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.. 2446 ต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นหลวงเสนาะดุริยางค์ เมื่อ พ.. 2453 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับพระราชทานเลื่อนเป็นพระเสนาะดุริยางค์ และเป็นที่พระยาเสนาะดุริยางค์(แช่ม  สุนทรวาทิน เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.. 2468
                        ราชทินนาม สำอางดนตรี ราชทินนามนี้ปรากฏในทำเนียบเก่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้หลวงสำอางดนตรี(หลบ สุอังควาทิน) เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.. 2439 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นที่พระสำอางดนตรี เมื่อวันที่ 24กรกฎาคม พ.. 2462
                        ราชทินนาม ศรีวาทิต ราชทินนามนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้หลวงศรีวาทิต (อ่อน โกมลวาทิน)
                        ราชทินนาม สิทธิวาทิน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ หลวงฉลาดกลองชวา (สาย อังศุวาทิน) โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนราชทินนามโดยคงบรรดาศักดิ์เป็นหลวงสิทธิวาทิน เมื่อวันที่ 29ธันวาคม พ.. 2461
                        ราชทินนาม พิณบรรเลงราช ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ขุนพิณบรรเลงราช (แย้ม ประสานศัพท์)เมื่อ พ.. 2454 ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนเป็น หลวงพิณบรรเลงราช เมื่อวันที่10 พฤศจิกายน พ.. 2457 และเป็นที่พระพิณบรรเลงราช เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.. 2462
                        ราชทินนาม พาทย์บรรเลงรมย์ ราชทินนามนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ ขุนพาทย์บรรเลงรมย์ (พิมพ์ วาทิน) เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.. 2453 ต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ เป็นหลวงพาทย์บรรเลงรมย์ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.. 2455 และเป็นที่พระพาทย์บรรเลงรมย์ เมื่อวันที่ 15มกราคม พ.. 2465
                        ราชทินนาม ประสมสังคีต ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้นักดนตรี 2 ท่าน คือ หลวงประสมสังคีต(ป่วน สุนทรนัฏ) ต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์และเปลี่ยนราชทินนามใหม่เป็นพระจัดดุริยางค์ อีกท่านหนึ่ง คือ หมื่นวีณาประจิน (ขำ ตารวณิช) ได้รับได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์และเปลี่ยนราชทินนามเป็นประสมสังคีต เมื่อวันที่ 9ธันวาคม พ.. 2462
                        ราชทินนาม ประณีตวรศัพท์ ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ พระประณีตวรศัพท์ (เขียน วรวาทิน)
                        ราชทินนาม คนธรรพวาที ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้นักดนตรี 2 ท่าน คือ ขุนคนธรรพวาที(จักร์ จักรวาทิน) เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.. 2457 ต่อมาได้รับเลื่อนเป็นหลวงคนธรรพวาที เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.. 2460 อีกท่านหนึ่ง ได้รับพระราชทานให้แก่ขุนคนธรรพวาที (จ่าง จิตตเสวี) เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.. 2461 และได้รับพระราชทานเลื่อนเป็นหลวงคนธรรพวาที เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.. 2464
                        ราชทินนาม ดนตรีบรรเลง ราชทินนามนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้นักดนตรี 2 ท่าน คือ ขุนดนตรีบรรเลง(อุ่น ดูริยชีวิน) เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.. 2458 ต่อมาท่านได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์ และเปลี่ยนราชทินนามใหม่เป็น หลวงไพเราะเสียงซอ เมื่อวันที่13 ธันวาคม พ.. 2460 อีกท่านหนึ่งคือ หลวงดนตรีบรรเลง (กุน เสนาะวิณิน)
            ราชทินนาม เพลงไพเราะ ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ขุนเพลงไพเราะ (โสม สุวาทิต) เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.. 2454 ท่านได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นหลวงเพลงไพเราะ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.. 2455 และเป็นที่พระเพลงไพเราะ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.. 2467
                        ราชทินนาม เพราะสำเนียง ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ขุนเพราะสำเนียง (ศุข ศุขวาที) เมื่อวันที่20 กุมภาพันธ์ พ.. 2454 ต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นหลวงเพราะสำเนียง เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.. 2455
                        ราชทินนาม เสียงเสนาะกรรณ ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้นักดนตรี 2 ท่าน คือ หลวงเสียงเสนาะกรรณ (หวัง นนทวาที) ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อน และเปลี่ยนราชทินนามใหม่เป็น พระยานนทฤทธิ์ประเจตน์ อีกท่านหนึ่งคือหลวงเสียงเสนาะกรรณ (พัน มุกตวาภัย)
ราชทินนาม สรรเพลงสรวง ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่
หัว พระราชทานให้ ขุนสรรเพลงสรวง (บัว กมลวาทิน) เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.. 2457  ท่านได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น หลวงสรรเพลงสรวง เมื่อวันที่ 23ตุลาคม พ.. 2460  และเลื่อนเป็นที่พระสรรเพลงสรวง เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.. 2467
                        ราชทินนาม พวงสำเนียงร้อย ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ ขุนพวงสำเนียงร้อย (นาค วัฒนวาทิน)เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.. 2458 และได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น หลวงพวงสำเนียงร้อย เมื่อวันที่  15 มกราคม พ.. 2465
                        ราชทินนาม สร้อยสำเนียงสนธ์ ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ขุนสร้อยสำเนียงสนธ์ เมื่อวันที่ 28มีนาคม พ.. 2458 ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น หลวงสร้อยสำเนียงสนธ์ เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.. 2465
                        ราชทินนาม วิมลวังเวง ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ หลวงวิมลวังเวง (ช่วง โชติวาทิน)
                        ราชทินนาม บรรเลงเลิศเลอ ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ขุนบรรเลงเลิศเลอ (กร กรวาทิน) เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.. 2458 ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น หลวงบรรเลงเลิศเลอ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.. 2466
                        ราชทินนาม บำเรอจิตรจรุง ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ขุนบำเรอจิตรจรุง (ห่อ คุปตวาทิน) เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.. 2456
                        ราชทินนาม บำรุงจิตรเจริญ ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ขุนบำรุงจิตรเจริญ (ธูป สาตรวิลัย) เมื่อ พ.. 2458 ต่อมาได้รับเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น หลวงบำรุงจิตรเจริญ เมื่อ พ.. 2464
                        ราชทินนาม เพลินเพลงประเสริฐ ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ขุนเพลินเพลงประเสริฐ (จี่ วีณิน) เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.. 2460
                        ราชทินนาม เพลิดเพลงประชัน ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ ขุนเพลิดเพลงประชัน (บุตร วีณิน) เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.. 2460
                        ราชทินนาม สนั่นบรรเลงกิจ ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ ขุนสนั่นบรรเลงกิจ (ญวน โตษะกาญจนะ)
                        ราชทินนาม สนิทบรรเลงการ ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้แก่นักดนตรี 2 ท่าน คือ ขุนสนิทบรรเลงการ (เงิน  ผลารักษ์) เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.. 2456 ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นหลวงสนิทบรรเลงการ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.. 2460 ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ในราชทินนามใหม่ เป็นหลวงชาญเชิงระนาด เมื่อวันที่ 9ธันวาคม พ.. 2460 อีกท่านหนึ่งที่ได้รับพระาชทานราชทินนามนี้คือ ขุนสนิทบรรเลงการ (จง จิตตเสวี) เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.. 2460
                        ราชทินนาม สมานเสียงประจักษ์ ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ หมื่นสมานเสียงประจักษ์ (เถา สินธุนาคร) เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม  .. 2469
                        ราชทินนามสมัคเสียงประจิต ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ หมื่นสมัคเสียงประจิต (เจ๊ก ประสานศัพท์) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.. 2460
                        ราชทินนาม วาทิตสรศิลป์ ราชทินนามนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้หมื่นวาทิตสรศิลป์ (ไส ดุริยประกฤต)
                        ราชทินนาม วาทินสรเสียง ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้หมื่นวาทินสรเสียง (วงษ์ ดุริยะประมา)
                        ราชทินนาม สำเนียงชั้นเชิง ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้หมื่นสำเนียงชั้นเชิง (มล โกมลรัตน์) เมื่อ พ.. 2460 ต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นขุนสำเนียงชั้นเชิง เมื่อ พ.. 2465
                        ราชทินนาม สำเริงชวนชม ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้หมื่นสำเริงชวนชม (กู๋  พุลละผลิน)
                        ราชทินนาม ภิรมย์เร้าใจ ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้หมื่นภิรมย์เร้าใจ (บุญธรรม อัมพผลิน)เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.. 2460
                        ราชทินนาม พิไรรมยา ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้แก่นักดนตรี 2 ท่าน คือ หมื่นพิไรรมยา(ชิต กมลวาทิน) เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.. 2460 อีกท่านหนึ่งคือ หมื่นพิไรรมยา(ภักดิ์ รัตนภาณุ) เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.. 2462 ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นขุนพิไรรมยา เมื่อ พ.. 2465
                        ราชทินนาม วีณาประจินต์ ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้หมื่นวีณาประจินต์ (ชิต กลัมพะกานนท์)
                        ราชทินนาม วีณินประณีต ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้หมื่นวีณินประณีต (จ่าง พันธุมจินดาเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.. 2460
                        ราชทินนาม สังคีตศัพท์เสนาะ ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ขุนสังคีตศัพท์เสนาะ (ปลื้ม วีณิน)
                        ราชทินนาม สังเคราะห์ศัพท์สอาง ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ขุนสังเคราะห์ศัพท์สอาง (แฟ้ม โกศัยเนตร์)
                        ราชทินนาม ดุริยางค์เจนจังหวะ ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้หมื่นดุริยางค์เจนจังหวะ (แช่ม สุนทรมณฑล)
                        ราชทินนาม ดุริยะเจนใจ ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้หมื่นดุริยะเจนใจ (น่วม สามนผลิน)
                        ราชทินนาม ประไพเพลงประสม ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้หมื่นประไพเพลงประสม (เอิบ นฤมิต)
                        ราชทินนาม ประคมเพลงประสาน ราชทินนามนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้หมื่นประคมเพลงประสาน (ใจ นิตยผลิน)
                        ราชทินนาม ชาญเชิงระนาด ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ ขุนสนิทบรรเลงการ (เงิน ผลารักษ์) เป็นหลวงชาญเชิงระนาดเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.. 2460
                        ราชทินนาม ฉลาดฆ้องวง ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ขุนฉลาดฆ้องวง (ส่าน ดุริยาชีวะ) เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.. 2464
                        ราชทินาม บรรจงทุ้มเลิศ ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ขุนบรรจงทุ้มเลิศ (ปลั่ง ประสานศัพท์)เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.. 2464
                        ราชทินนาม บรรเจิดปี่เสนาะ ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้หมื่นบรรเจิดปี่เสนาะ (เทียม สาตรวิลัยเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.. 2460
                        ราชทินนาม ไพเราะเสียงซอ ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ขุนดนตรีบรรเลง (อุ่น ดูริยะชีวิน) ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นหลวงไพเราะเสียงซอ เมื่อวันที่ 13ธันวาคม พ.. 2460
                        ราชทินนาม คลอขลุ่ยคล่อง เป็นราชทินนามชื่อเดียวที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบัญญัติขึ้นและมิได้พระราชทานแก่ผู้ใด นายมนตรี ตราโมท กล่าวไว้ในตอนหนึ่งของประวัติหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูริยะชีวิน) ว่านายก้อนดิน ราหุลทัต เป็นนักดนตรีสังกัดกรมมหรสพ มีฝีมือในการเป่าขลุ่ยมาก พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เจ้ากรมพิณพาทย์หลวงจะนำเสนอเพื่อขอพระราชทานบรรดาศักดิ์  คลอขลุ่ยคล่อง ให้แก่นายก้อนดิน
ราหุลทัต แต่เจ้าตัวไม่ชอบนามราชทินนามนี้จึงรีบขอย้ายไปรับราชการที่กองมหาดเล็ก แผนกพระสุธารส ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น นายราชจำนง และหลวงธารารสวิเศษ ตามลำดับ ฉะนั้นจึงไม่มีผู้ใดได้รับพระราชทาน คลอขลุ่ยคล่อง
                        ราชทินนาม ว่องจะเข้รับ ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้หลวงว่องจะเข้รับ (โต กมลวาทิน)
                        ราชทินนาม ขับคำหวาน ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้หมื่นขับคำหวาน (เจิม นาคมาลัย)
                        ราชทินนาม ตันตริการเจนจิต ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าอยู่หัว พระราชทานให้หมื่นตันตริการเจนจิต (สาย ศศิผลิน)
                        ราชทินนาม ตันตริกิจปรีชา ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้หมื่นตันตริกิจปรีชา (นาค พาทยาชีวะ)เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.. 2462
                        ราชทินนาม นารทประสาทศัพท์ ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้หมื่นนารทประสาทศัพท์ (ทัด โกศะรถ)
                        ราชทินนาม คนธรรพประสิทธิสาร ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้หมื่นคนธรรพประสิทธิสาร (แตะ กาญจนผลิน)

                      ราชทินนามพิเศษที่กำหนดเป็นกระทู้ที่มี ชื่อ คือ ราชทินนาม เจนดุริยางค์ จัดดุริยางค์ ถนัดดุริยางค์ และถนอมดุริยางค์ สำหรับผู้ที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ตามกระทู้ทั้ง 4 มีดังนี้
                        ราชทินนาม เจนดุริยางค์ ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้พระเจนดุริยางค์(ปิติ วาทยากร) เมื่อวันที่15 ตุลาคม พ.. 2465
                        ราชทินนาม จัดดุริยางค์ ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้หลวงประสมสังคีต (ป่วน สุนทรนัฏ)โดยเลื่อนและเปลี่ยนราชทินนามเป็น พระจัดดุริยางค์
                        ราชทินนาม ถนัดดุริยางค์ ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้หมื่นถนัดดุริยางค์ (จรูญ เศวตเกษตริน)
                        ราชทินนาม ถนอมดุริยางค์ ราชทินนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้หมื่นถนอมดุริยางค์ (เฉื่อย งามกำลัง)

                        นอกจากนักดนตรี นักร้อง จะได้รับพระราชทินนามดังกล่าวแล้ว ในส่วนของนักพากย์และเจรจาโขน ของกรมมหรสพก็ได้รับพระราชทานด้วย ราชทินนามบรรดาศักดิ์ของนักพากย์และเจรจาโขน   เดิมมี   ชื่อ  คือ  พจนาเสนาะ  ทรงบัญญัติเพิ่มอีก   ชื่อ  คือ  ไพเราะพจมาน  ขานฉันทวากย์  พากย์ฉันทวัจน์ และชัดเจรจา โดยราชทินนามชัดเจรจา ยังมิได้พระราชทานให้แก่นักดนตรีท่านใด
           
            ในปัจจุบันบรรดานักดนตรีที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ได้หมดสิ้นไปจากวงการดนตรีไทยแล้ว  แต่เมื่อศึกษาในด้านประวัติดนตรีไทย  ทำให้สามารถศึกษาสถานการณ์ดนตรีในแต่ละยุคสมัยได้เป็นอย่างดี  โดยเฉพาะพัฒนาการของการสร้างสรรค์ผลงานดนตรีที่นักดนตรีดังกล่าวได้ฝากไว้ในวงการดนตรีไทย  เพราะนับเนื่องจากการที่นักดนตรีที่มีหลักฐานบันทึกไว้ครั้งแรกคือเมื่อวันที่  21  พฤศจิกายน  ..  2396  เมื่อครูมีแขกได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงประดิษฐไพเราะ  จนถึงหมื่นสมานเสียงประจักษ์  (เถา  สินธุนาคร)  ได้รับพระราชทานเมื่อวันที่  13  ธันวาคม  .2469  รวมเป็นเวลา  73  ปี  แต่ในเวลา  73  ปีนี้  มีสิ่งดีๆ งามๆ  เกิดขึ้นในวงการดนตรีไทยอย่างมากมาย  เป็นช่วงหยั่งลึกของความเป็นรากแก้วของศิลปะดนตรีไทย  ที่แผ่กิ่งก้านสาขา  ผลิดอกออกผลอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน.

หมายเหตุ 
             การสะกดการันต์ของคำบางคำในบทความนี้  คงตามการสะกดที่ใช้อยู่ในเอกสารต้นฉบับ

บรรณานุกรม
นามานุกรมดนตรีไทย. (2518).   ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ  นายสอน วงฆ้อง  ณ เมรุวัด
ระฆังโฆษิตาราม.  กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร จัดพิมพ์. 
พูนพิศ  อมาตยกุล.  (2532).  นามานุกรมศิลปินเพลงไทย ในรอบ 200 ปี  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์. 
กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.
สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง เล่ม 12. (2542).   กรุงเทพมหานคร:  มูลนิธิสารานุกรมวัฒน
ธรรมไทย  ธนาคารไทยพาณิชย์.
สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย  ภาคประวัตินักดนตรีและนักร้อง  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2542. 
กรุงเทพมหานคร: หจก. อรุณการพิมพ์.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น